วันพุธที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2563

จังหวัดหนองคาย แถลงข่าวการจัดงานประเพณีออกพรรษาบั้งไฟพญานาคโลก ประจำปี 2563 เตรียมกิจกรรมพร้อมรับนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางมาชมปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาค

เมื่อช่วงเย็นวันที่ 22 ก.ย. 63 ที่ลานพญานาค ลานวัฒนธรรมหน้าวัดลำดวน ริมแม่น้ำโขง เขตเทศบาลเมืองหนองคาย นายรณชัย จิตรวิเศษ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย, พ.ต.อ.ออมสิน บุญญานุสนธ์ รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดหนองคาย, นายกำภล เมืองโคตร นายกเทศมนตรีเมืองหนองคาย, นายถาวร สังขะมาน นายอำเภอโพนพิสัย, นางภาวนา ประจิตต์ ผอ.ททท. สำนักงานอุดรธานี และ นายอาทร จันทร์พิลา ประชาสัมพันธ์จังหวัดหนองคาย ได้ร่วมกันแถลงข่าวการจัดงานประเพณีออกพรรษาบั้งไฟพญานาคโลก ประจำปี 2563 โดยมีผู้เข้าร่วมรับฟังการแถลงข่าวเป็นจำนวนมาก

ในส่วนของการแถลงข่าวครั้งนี้ นายรณชัย จิตรวิเศษ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย กล่าวว่า สำหรับปีนี้วันออกพรรษา ตรงกับวันศุกร์ ที่ 2 ต.ค.2563 จังหวัดหนองคายได้มีการเตรียมกิจกรรมเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว ใน 6 อำเภอ ได้เตรียมความพร้อมไว้บริการนักท่องเที่ยวที่จะมาเที่ยวชมปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาค ถึงแม้ว่าจะมีวิกฤตโรคโควิด 19 แต่เนื่องจากบั้งไฟพญานาคเป็นความเชื่อ ความศรัทธา  คาดว่า จะมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลออกพรรษาบั้งไฟพญานาคอยู่เช่นเคย ขอให้ชาวหนองคายร่วมกันเป็นเจ้าบ้านที่ดีในการต้อนรับนักท่องเที่ยว



ด้านการจราจรและการดูแลความปลอดภัย พ.ต.อ.ออมสิน บุญญานุสนธ์ รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดหนองคาย กล่าวว่า จะมีการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการในทุกอำเภอ จัดกำลังเจ้าหน้าที่เพิ่มจากเดิม และสนธิกำลังกับหน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่ เพื่อปฏิบัติหน้าที่ดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน พร้อมวางมาตรการการจราจร ในวันออกพรรษา 

ส่วนนายกำภล เมืองโคตร นายกเทศมนตรีเมืองหนองคาย กล่าวว่า ทางเทศบาลเมืองหนองคายได้ร่วมกับชุมชนภายในเขตเทศบาลเมืองหนองคาย จัดกิจกรรมวันออกพรรษา เช่น การรำบวงสรวงบูชาพญานาค , การแข่งขันเรือยาวชิงถ้วยพระราชทานฯ, การแสดงแสงเสียงเปิดตำนานบั้งไฟพญานาค แสดง 4 รอบ ระหว่างวันที่ 29 ก.ย.-2 ต.ค.63 เวลา 19.00 น. กิจกรรมถนนอาหาร การแสดงบนเวที การประกวดบ่าวคนโก้ สาวผู้ดีสองฝั่งโขง และการตักบาตรเทโวโรหนะ 

สำหรับการแถลงข่าวครั้งนี้ ได้มีการถ่ายทอดเสียงทางและ Live สด ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่ประเทศไทย จังหวัดหนองคาย เพื่อให้ประชาชนที่ไม่สามารถเดินทางมาร่วมกิจกรรมได้ร่วมรับฟัง และประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวและประชาชนทั้งในจังหวัดหนองคายและใกล้เคียงได้รับทราบข้อมูลอย่างทั่วถึง








วันอังคารที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2563

อบต.ท่าลี่ อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี เยี่ยมชมศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านทุ่งศิลป์ครูแดง อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย ตามโครงการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ ประจำปึงบประมาณ 2563

วันที่ 22 ก.ย. 63 ที่ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านทุ่งศิลป์ครูแดง ต.น้ำโมง อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย นายชัยยุทธ นามแสง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าลี่ อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี นำคณะผู้บริหาร, พนักงาน, ลูกจ้าง, สอ.บต., กลุ่มสตรี, กลุ่มอาชีพ และกลุ่มวิสหกิจชุมชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าลี่ จำนวน 200 คน เดินทางเข้าศึกษาดูงานและเยี่ยมชมศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านทุ่งศิลป์ครูแดง ตามโครงการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ ประจำปึงบประมาณ 2563 โดยมี ครูแดง บ้านศิลป์ไทย และนายนาวิน ลิ้มมณีประเสริฐ เจ้าของแสงพศินเมล่อนฟาร์ม ต.หนองปลาปาก อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย ให้การต้อนรับและพาคณะศึกษาดูงานจากเทศบาลตำบลท่าลี่ เดินเยี่ยมชมพืชผักผลไม้ในบริเวณบ้านทุ่งศิลป์ฯ




ด้วยองค์การบริหารส่วนตำบลท่าลี่ โดยกองสวัสดิการสังคม ได้จัดทำโครงการอบรมศึกษาดูงานเพื่อเพิ่มศักยภาพของกลุ่มสตรี กลุ่มอาชีพและกลุ่มวิสาหกิจชุมชน เขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าลี่ ประจำปึงบประมาณ 2563 อันจะเป็นการสร้างความเข้มแข็งของภาคประชาชนให้อยู่อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนต่อไป การศึกษาดูงานเป็นกิจกรรมของกลุ่มอีกย่างหนึ่ง ที่สามารถผลักดันกลุ่มให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง และสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับไปไช้ปฏิบัติได้จริง เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และสอดคล้องต่อนโยบายของรัฐบาล ที่เล็งเห็นความสำคัญของการส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้รับการพัฒนาในด้านต่างๆ รวมทั้งการได้รับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ให้มืคุณภาพ การส่งเสริมและพัฒนาอาชีพสำหรับกลุ่มสตรี กลุ่มอาชีพต่างๆ ถือเป็นองค์กรภาคประชาชนที่สำคัญในการมีส่วนร่วมพัฒนาพื้นที่ให้มีความเจริญรุดหน้า การส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจระดับชุมชนทำให้เกิดรายได้และลดปัญหาการว่างงานของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะวิกฤตการเงิน เป็นกระบวนการพัฒนาท้องถิ่นเพื่อสร้างชุมชนให้เข้มแข็งและพึ่งตนองได้ และเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะส่งเสริมให้ประชาชนได้เกิดกลุ่มอาชีพที่หลากหลาย มีการพึ่งพาอาศัยกันและกัน เกิดความสามัคคีขึ้นในหมู่คณะ และชุมชนยังสามารถนำสินค้ามาจำหน่ายหรือแลกเปลี่ยนกัน จะเป็นทุนหมุนเวียนในชุมชน และดึงให้ประชาชนในบริเวณใกล้เคียงมาใช้บริการ เช่นเดียวกับการอุดหนุนร้านค้าในชุมชน หากได้รับการพัฒนาให้มีความรู้และประสบการณ์ควบกันไปแลัว จะบังเกิดประโยชน์ต่อทางราชการและส่วนรวมในพื้นที่




























วันจันทร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2563

ชาวบ้านป่าสักใต้ อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย รวมพลังกำจัดวัชพืชเปิดทางน้ำ หวั่นน้ำท่วมนาข้าวกว่า 2,500 ไร่

วันที่ 21 ก.ย. 63 ที่ลำห้วยอิน ต.กองนาง อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย นายอนุวัฒน์ เหมบุรุษ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 4 นายสุดใจ ทิพย์มงคล ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 9 บ้านป่าสักใต้ ต.กองนาง อ.ท่าบ่อ พร้อมด้วยผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน และชาวบ้านบ้านป่าสักใต้ ได้ร่วมกันรวมพลังกำจัดผักตบชวาและวัชพืชจำนวนมากที่กีดขวางทางน้ำภายในลำห้วยอิน ที่ไหลมาจาก ต.หนองปลาปาก ต.พานพร้าว อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย ไหลลงลำห้วยโมง เพื่อป้องกันน้ำท่วมไร่นาของเกษตรกร เนื่องจากได้มีการแจ้งเตือนมาในช่วงนี้มีฝนตกหนักติดต่อกันเป็นเวลาหลายวัน อาจทำให้น้ำในห้วยอินระบายออกไม่ทัน เพราะมีผักตบชวาและวัชพืชเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นอุปสรรคและขวางทางเดินของน้ำ อาจส่งผลให้เกิดน้ำเอ่อไหลเข้าท่วมนาข้าวในพื้นที่หมู่ 4 และหมู่ 9 บ้านป่าสักใต้กว่า 2,500 ไร่ ที่ออกรวงและใกล้จะเก็บเกี่ยวผลผลิตในช่วงปลายเดือนกันยายนและต้นเดือนตุลาคมนี้




โดยชาวบ้านทั้ง 2 หมู่บ้านที่ได้รับความเดือดร้อน ได้นำอุปกรณ์ที่มีเร่งกำจัดผักตบชวาและวัชพืชที่ปกคลุมบริเวณทางน้ำไหลในลำห้วยอินออก เพื่อเป็นการช่วยระบายน้ำให้ไหลได้สะดวกรวดเร็ว ป้องกันน้ำเอ่อล้นไหลเข้าท่วมพื้นที่ทางการเกษตร ซึ่งในแต่ละปีในลำห้วยอิน นั้นพบว่ามีผักตบชวาและวัชพืชขึ้นปกคลุมและกีดขวางทางน้ำไหลมีระยะทางยาวกว่า 3 กิโลเมตร ส่งผลให้กระแสน้ำที่ไหลตามลำห้วยมายังบริเวณดังกล่าว ก่อนจะไหลลงสู่ลำห้วยโมง ไม่สามารถระบายได้ทัน จนส่งผลให้น้ำไหลเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรเป็นวงกว้าง ทำให้เกษตรกรได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก ทางผู้นำหมู่บ้านและชาวบ้าน ต้องช่วยกันกำจัดผักตบชวาและวัชพืชที่กีดขวางทางน้ำทุกปี














จ.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา" เฉลิมพระเกียรติฯ

สนง.พช.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา"...