วันที่ 29 พ.ค. 2566 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมอิสานฮอลล์ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย นพ.อิศรา ธรา ประธานคณะกรรมการโครงสร้างและสิ่งแวดล้อม โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมซ้อมแผนตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน "กรณีเกิดก๊าซแอมโมเนียรั่วไหลในโรงน้ำแข็ง" ประจำปี 2566 ซึ่งคณะกรรมการโครงสร้างและสิ่งแวดล้อม โดยงานอาชีวเวชกรรมโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ จัดให้มีขึ้นเพื่อเตรียมความพร้อมรองรับเหตุการณ์เกี่ยวกับสารเคมีและวัตถุอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น โดยเฉพาะโรงน้ำแข็ง-ห้องเย็น ที่อาจเกิดเหตุก๊าซแอมโมเนียรั่วไหลในช่วงฤดูร้อนนี้ โดยได้จัดการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ดับเพลิงและกู้ชีพ-กู้ภัย เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถด้านวิชาการและปฏิบัติการจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งฝึกฝนทักษะความชำนาญในเรื่องดังกล่าว และตั้งชุดปฏิบัติการเฉพาะกิจเพื่อภารกิจตอบโต้เหตุฉุกเฉิน
นพ.อิศรา ธรา ประธานคณะกรรมการโครงสร้างและสิ่งแวดล้อม รพร.ท่าบ่อ กล่าวว่า ด้วยอำเภอท่าบ่อในปัจจุบัน สำรวจพบว่ามีผู้ประกอบการโรงน้ำแข็งถึง 6 แห่ง ผลิตน้ำแข็งออกจำหน่ายให้ประชาชนในอำเภอท่าบ่อและใกลัเคียง โดยที่กรรมวิธีในการผลิตน้ำข็งนั้น จำเป็นจะต้องใช้เครื่องมือและสารเคมีหลายชนิด ซึ่งหนึ่งในนั้นคือก๊าซแอมโมเนีย เพื่อช่วยในการทำความเย็น ในทางปฏิบัติพบว่าหากมีการรั่วไหลของก๊าซตัวนี้ จะเกิดอันตรายขึ้นได้ ผู้ที่สัมผัสสารนี้จะมีการระคายเคืองทางผิวหนังที่สัมผัสเป็นอย่างมาก และที่จะเป็นอันดรายก็คือการสูดดมกัาชแอมโมเนีย ที่มีความเข้มขันสูงเป็นระยะเวลานาน จะทำให้เกิดการระดายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ อาจถึงขั้นทำลายเนื้อปอดและเกิดภาวการณ์หายใจล้มเหลวได้ ซึ่งจะเป็นอันตรายถึงชีวิต
ดังนั้นการกำหนดมาตรการการป้องกันที่ได้มาตรฐาน ร่วมกับการทำความเข้าใจของผู้ปฏิบัติงาน และหากได้มีการซักซ้อมก่อนที่จะเกิดหตุการณ์จริง ก็จะช่วยให้ลดความเสี่ยงและลดความรุนแรงของอันตรายที่จะเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน คณะกรรมการฯ จึงได้จัดการประชุมซ้อมแผนตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน "กรณีเกิดกำชแอมโมเนียรั่วไหลในโรงน้ำแข็ง" ในวันนี้ขึ้น โดยมีตัวแทนจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ เทศบาลเมืองท่าบ่อ เทศบาลตำบลโพนสา เทศบาลตำบลบ้านถ่อน อบต.ท่าบ่อ สถานีตำรวจภูธรทำบ่อ สาธารณสุขอำเภอท่าบ่อ รพ.สต.ในพื้นที่ และผู้ประกอบการโรงน้ำแข็ง 6 แห่ง ในส่วนของโรงพยาบาลประกอบด้วย คณะกรรมการบริหารโรงพยาบาล แพทย์และเจ้าหน้าที่งานอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน และเจ้าหน้าที่ที่สนใจ รวม 200 คน
สำหรับการประชุมประกอบด้วย การบรรยายความรู้ในการเฝ้าระวัง การป้องกันและแนวทางการปฏิบัติตัวเมื่อเกิดเหตุการณ์กรณีก๊าซแอมโมเนียรั่วไหล ต่อด้วยการร่วมฝึกซ้อมแผนสถานการณ์จำลองเหตุการณ์ในห้องประชุม และการสรุปผลการซ้อมแผน เพื่อนำไปใช้หากเกิดสถานการณ์จริง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น