วันพุธที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2562

นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เครือข่ายกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานีคัดค้านเหมืองแร่โปแตช ศึกษาดูงานป้าชุมชนในจังหวัดหนองคาย เพื่อขับเคลื่อนการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม


วันที่ 11 ธ.ค. 62 นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี คณะวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม ชั้นปีที่ 3 และเครือข่ายกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานีคัดค้านเหมืองแร่โปแตช ได้จัดโครงการพัฒนาความรู้กฎหมายสิ่งแวดล้อมกับการมีส่วนร่วมของประชาชน ภายใต้สถานการณ์ปัจจุบัน ณ ป่าชุมชนภูผาดัก ตำบลผาตั้ง อำเภอสังคม , ป่าชุมชนภูพนังม่วง และป่าชุมชนห้วยหินขาว ตำบลด่านศรีสุข อำเภอโพธิ์ตาก จังหวัดหนองคาย เพื่อเพิ่มความรู้ ความเข้าใจวิธีการและแนวทางการอนุรักษ์ป้าชุมชนและนำกลไกการทำงานมาประยุคต์ใช้ และพัฒนาพื้นที่ชุมชนของตนเองในจังหวัดอุดรธานี โดยมีนายสายยน ภูพิศ หัวหน้าลาดตระเวนโครงการพัฒนาลุ่มน้ำทอน อันเนื่องมาจากพระราชดำริจังหวัดหนองคาย นายบุญศรี ชาติมูลตรี ประธานเครือข่ายป๋าชุมชนจังหวัดหนองคาย นำเจ้าหน้าที่โครงการพัฒนาลุ่มน้ำทอนฯ , เจ้าหน้าที่กองร้อย อส.อำเภอโพธิ์ตาก และอาสาพิทักษ์ป่าบ้านห้วยหินขาวให้การต้อนรับคณะศึกษาดูงานครั้งนี้




การศึกษาดูงานในครั้งนี้ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและมีความเป็นเอกภาพ สามารถก่อให้เกิดประสิทธิผลในการทำงานในรูปแบบเครือข่ายจนเป็นผลสำเร็จ จึงเลือกลงพื้นที่ป่าชุมชนทั้ง 3 แห่ง ที่ครอบคลุมพื้น 2 ตำบล 2 อำเภอ ของจังหวัดหนองคาย ซึ่งมีเนื้อที่ในการบริหารจัดการป่าชุมชนทั่ง 3 แห่ง จำนวน 1 หมื่นกว่าไร่ โดยได้รับอนุมัติในการขอจัดตั้งเป็นป่าชุมชนจากกรมป่าไม้ ตามขั้นตอนแบบ ปชช.1-4 ในเขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าพานพร้าว-ป่าแก้งไก่ ซึ่งเป็นผืนป่าผืนสุดท้ายของจังหวัดหนองคาย




นายบุญศรี ชาติมูลตรี ประธานเครือข่ายป่าชุมชนจังหวัดหนองคาย กล่าวว่า เดิมทีป่าชุมชนทั้ง 3 แห่งนี้ มีการบุกรุกจากกลุ่มนายทุนและชาวบ้านเข้ามาตัดไม้ทำรายป่า ทำไร่มันสำปะหลัง สวนยางพาราและแปลงปลูกสัปปะรด กลุ่มอาสาพิทักษ์ป่า และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เข้ามาฟื้นฟูดูแลรักษาจนได้สภาพป่าที่เป็นรูปธรรม โดยร่วมกันป้องกันผู้ที่เข้ามาบุกรุกผืนป่า และการนำหลักความเชื่อฝานจารีตทางพิธีกรรมการบวชป่ามาเป็นกุศโลบาย เพื่อหาทางออกจากจุดเริ่ม สร้างความชุ่มชื้นและความอุดมสมบูรณ์แก่ผืนป่า เป็นฝายมีชีวิต(กึ่งบก-กึ่งน้ำ) และฝายขนาดเล็กแบบชั่วคราวอีกหลายฝาย ตามเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ เพื่อเป็นอาหารแก่สัตว์ป้าเติมเต็มความสมบูรณ์ของระบบนิเวศทางธรรมชาติอย่างผสมกลมกลืน และความศรัทธา ความเชื่อ ที่จะนำผืนป่าผืนนี้กลับมาให้มีชีวิตในการพึ่งพาคู่กับชาวบ้านในพื้นที่และชุมชนรอบๆ ตลอดไปตราบนานเท่านาน เพราะป๋าชุมชนคือแหล่งสร้างชีวิต เป็นแหล่งอาหารและสมุนไพรของชุมชน เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน โดยชุมชน และชุมชน เพื่อชุมชนสืบไป








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

จ.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา" เฉลิมพระเกียรติฯ

สนง.พช.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา"...