วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2563

จังหวัดหนองคาย เปิดฝึกอบรมชุดปฏิบัติการจิตอาสาภัยพิบัติประจำองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านว่าน


วันที่ 30 มิ.ย.63 ที่ อาคารเอนกประสงค์องค์การบรืหารส่วนตำบลบ้านว่าน อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย นายณัฐวัสส์  วิริยานภาภรณ์  รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย เป็นประธานพิธีเปิดโครงการฝึกอบรมชุดปฏิบัติการจิตอาสาภัยพิบัติประจำองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านว่าน โดยมี นายประภาส คลังชำนาญ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านว่าน กล่าวรายงาน มีวิทยากรจากศูนย์ฝึกอบรมจิตอาสา 904 วปร.จังหวัดหนองคาย, ผู้บริหาร อบต., ส.อบต., เจ้าหน้าที่ รพ.สต., อสม. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ร่วมให้การต้อนรับ





สำหรับโครงการฝึกอบรมชุดปฏิบัติการจิตอาสาภัยพิบัติฯ ในครั้งนี้ กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 30 มิถุนายน – 2 กรกฎาคม 2563 ทั้งภาควิชาการและภาคปฏิบัติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้มีบุคลากรที่สามารถปฏิบัติหน้าที่ช่วยเหลือเจ้าพนักงานในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย , ส่งเสริมความรู้ด้านการจัดการสาธารณภัยเบื้องต้น , พัฒนาระบบการปฏิบัติงานกู้ภัยในภาวะฉุกเฉินให้เป็นระบบ รวดเร็ว และทันต่อเหตุการณ์ และสนับสนุนให้โครงการจิตอาสาพระราชทานในระดับพื้นที่ให้มีความเข้มแข็ง และมีทักษะ ความรู้ ความชำนาญในการจัดการภัยพิบัติ อันจะส่งผลให้กับประชาชนในชุมชน ท้องถิ่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน โดยมีจิตอาสาภัยพิบัติในพื้นที่ จำนวน 50 คน เข้าร่วมฝึกอบรมฯ















วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2563

เกษตรกรชาว อ.โพธิ์ตาก จ.หนองคาย ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงตั้งกลุ่มสัมมาชีพเลี้ยงด้วงในกะละมัง “กลุ่มเลี่ยงด้วงบ้านดงเหล่า” สร้างรายได้เสริมจากการทำไร่ ทำนา


ที่บ้านดงเหล่า หมู่  8 ต.โพนทอง อ.โพธิ์ตาก จ.หนองคาย ชาวบ้าน 20 คน ได้รวมตัวกันเลี้ยงด้วงมะพร้าวในกะละมัง เพื่อเป็นรายได้เสริมให้แก่ครอบครัว นอกเหนือจากการทำไร่ ทำนา ทำสวน และรับจ้างกรีตยางพารา จนประสบความสำเร็จ เป็นที่ต้องการของตลาดและขายได้ราคาดีอีกด้วย




นายเฉลิม จินวิเศษ อายุ 42 ปี กรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์กลุ่มฯ กล่าวว่า การที่ได้ร่วมกับชาวบ้านจัดตั้งกลุ่มขึ้นมา เนื่องจากได้แรงบันดาลใจมาจากแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสของในหลวง รัชกาลที่ 9 พอชาวบ้านว่างจากการทำไร่ ทำนา ทำสวน จึงมารวมกลุ่มกันและก็เริ่มเป็นกลุ่มใหญ่ขึ้น จากนั่นจึงได้กระจายออกไปให้ชาวบ้านได้เพาะพันธุ์ลองทำกันดูบ้าง ผลออกมาดีเกินคาด ทำให้ชาวบ้านมีรายได้เสริมขึ้นมาตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเมื่อก่อนเลี้ยงไม่มากนัก เน้นไว้กินในครัวเรือน เหลือก็นำไปขายตามตลาดชุมชน แต่เห็นว่าขายดี ชาวบ้านจึงได้รวมตัวกันกว่า 20 คน โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากอำเภอโพธิ์ตาก โดยสำนักงานพัฒนาชุมชน เป็นจำนวนเงิน 25,000 บาท ตั้งเป็นกลุ่มสัมมาชีพเลี้ยงด้วงมะพร้าวในกะละมัง ชื่อ “กลุ่มเลี้ยงด้วงบ้านดงเหล่า” เป็นการต่อยอดจากเดิมที่เลี้ยงจำนวนไม่มาก




สำหรับการเลี้ยงด้วงมะพร้าว จะใช้เปลือกสดของมะพร้าวอ่อน ท่าเป็นมะพร้าวน้ำหอมก็ยิ่งดีนำมาสับเป็นชิ้นๆ ผสมกับรำอ่อน กากน้ำตาล ใส่ลงในกะละมังขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 60 ซม. หลังจากนั้นเติมน้ำสะอาด คลุกเคล้าส่วนผสมให้เข้ากันพอหมาดๆ  แล้วนำพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ด้วงที่เตรียมไว้ใส่ลงไปกะละมังละ 10 คู่ พร้อมกับกล้วยน้ำว้าสุก 4-5 ผล เพื่อให้เป็นอาหารของพ่อพันธุ์แม่พันธุ์  แล้วก็ปิดฝาเพื่อป้องกันตัวด้วงบินหนี ใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 25 วัน ก็สามารถคัดตัวด้วงที่ได้ขนาดโตเต็มที่  200 ตัวต่อกะละมัง ขายกิโลกรัมละ 250 บาท ตัวด้วงหนึ่งกะละมังจะได้เงินอยู่ที่ไม่ต่ำกว่า 500 บาท




ปัจจุบัน ยังผลิตไม่ทันต่อความต้องการของตลาด ส่วนใหญ่ลูกค้าจะเดินทางมาซื้อถึงที่ ส่วนรายได้ตอนนี้ทางกลุ่มพึ่งเริ่มก่อตั้งได้แค่ 6 เดือน กำลังเริ่มทำบัญชีรายรับรายจ่าย คาดว่าเมื่อครบสิ้นปีก็จะรายได้นำมาแบ่งให้แก่สมาชิกฯ ซึ่งจะเป็นเงินก้อน และเป็นรายได้เสริมให้แก่ครอบครัว นอกจากนี้ทางกลุ่มยังเพาะพ่อพันธุ์แม่พันธุ์เอง เพื่อแจกจ่ายให้กับสมาชิกและขายให้กับผู้ที่สนใจจะเลึ้ยง ในราคาตัวละ 5 บาท หากประชาชนท่านใดหรือหน่วยงานไหนสนใจที่จะศึกษาดูงาน ทางกลุ่มฯก็ยินดีต้อนรับ หรือโทรมาสอบถามได้ที่เบอร์ 085-4556062





จ.หนองคาย เปิดสวนอินทผลัม ในเขตตำบลสระใคร อำเภอสระใคร ที่ถือเป็นสวนอินทผลัมแห่งแรกและใหญ่ที่สุดในจังหวัดหนองคาย มีต้นอินทผลัมที่ปลูกและให้ผลผลิตแล้ว กว่า 350 ต้น


วันที่ 27 มิ.ย. 63 นายรณชัย จิตรวิเศษ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย นางวัชรินทร์ จิตรวิเศษ นายกเหล่ากาชาดจังหวัดหนองคาย นายเตชิด ทรงบุญศาสตร์ นายอำเภอสระใคร พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและชาวอำเภอสระใคร ได้ร่วมกันเปิดไร่วิทยาอินทผลัม ที่บ้านนาไหม หมู่ที่ 12 ต.สระใคร อ.สระใคล จ.หนองคาย เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ของดีของจังหวัดหนองคาย





สำหรับไร่วิทยาอินทผลัม ของนายวิทยา กลางรักษ์ อายุ 59 ปี มีอาชีพเป็นทนายความ มาเป็นเวลากว่า 30 ปี ก่อนจะมาทำสวนยางพารา มะยงชิด ทุเรียน และสวนอินทผลัม ซึ่งถือสวนอินผลัมแห่งแรกและเป็นสวนอินทผลัมที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดหนองคาย มีการปลูกอินทผลัมทั้งหมด 350 ต้น ปลูกมาแล้ว 3 ปีครึ่ง ก็เริ่มให้ผลผลิต ซึ่งผลผลิตที่ได้มีคุณภาพใกล้เคียงกับต้นกำเนิด ทั้งขนาดและรสชาติ ราคาขายผลสดที่ตัดเป็นทลาย กิโลกรัมละ 400 บาท หากตัดเอาเฉพาะผล กิโลกรัมละ 450 บาท





นายรณชัย จิตรวิเศษ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย กล่าวว่า อินทผลัม ถือเป็นพืชชนิดใหม่ที่มีการปลูกในหลายพื้นที่ของจังหวัดหนองคาย ซึ่งได้ผลดีโดยเฉพาะที่สวนแห่งนี้ อินทผลัมเป็นพืชที่กำลังมีการปลูกและกำลังมีกระแส แต่การปลูกอินทผลัม ผู้ที่ปลูกต้องมีความรู้ มีประสบการณ์ ผลผลิตที่สวนแห่งนี้ ให้รสชาติดีใกล้เคียงกับอินทผลัมที่มาจากทางตะวันออกกลางให้ผลดก อินทผลัมเป็นพืชที่กำลังเป็นที่นิยม ราคาขายก็ดี แต่ถ้าจะให้ได้ผลดีต้องมีการปลูกจากเนื้อเยื่อ หากจะให้ผลดีต้องใช้ต้นพันธุ์ที่เป็นเนื้อเยื่อ จึงจะไปกลายพันธุ์ ผู้ที่จะปลูกต้องมีการศึกษาหาความรู้ในเรื่องของการปลูก การดูแล ต้นทุนที่ต้องใช้ และในเรื่องของตลาดในอนาคต ขณะนี้ ยังมีปริมาณผลผลิตออกมายังไม่มาก ราคากิโลกรัมละหลายร้อยบาท หากมีการปลูกมากขึ้นก็อาจจะมีราคาที่ลดลง จึงควรมีการปลูกผสมผสานกับพืชชนิดอื่นให้มีความหลากหลาย




นายวิทยา กลางรักษ์ เจ้าของไร่วิทยาอินทผลัม เปิดเผยว่า ก่อนจะมาทำสวนอินทผลัม ได้ทำสวนยางพาราพื้นที่เกือบ 200 ไร่ แต่ราคายางพาราตกต่ำ จึงได้คิดที่จะปลูกพืชชนิดอื่น เพราะตนเองก็มีความชำนาญในเรื่องการเกษตร จึงได้คิดที่จะปลูกอินทผลัม ประกอบกับเพื่อนๆ หลายคนมีการปลูกอินทผลัมอยู่ที่จังหวัดกาญจนบุรี โดยนำต้นที่เป็นเนื้อเยื่อมาจากต่างประเทศ ซึ่งต้นพันธุ์ที่เป็นเนื้อเยื่อ เวลานำมาปลูกจะไม่กลายพันธุ์ เป็นต้นพันธุ์ตัวเมีย ปลูกแล้วจะให้ผลผลิตเลย จึงได้ไปศึกษากับเพื่อนๆ ที่มีการปลูกอินทผลัมจนให้ผลิตแล้ว จึงได้นำต้นพันธุ์ที่มีการนำเข้าจากต่างประเทศ เป็นพันธุ์บาฮีมาปลูกที่สวนของตนในภาคอีสาน เป็นพื้นที่ที่สามารถปลูอินทผลัมได้ เนื่องจากภาคอีสานมีแสงแดดที่อินทผลัมชอบ และมีช่วงที่มีอากาศหนาวในช่วงฤดูหนึ่ง ที่จะทำให้อินทผลัมออกดอก ถ้าหากอากาศไม่หนาวจะไม่ออกดอก พื้นที่การปลูกอินทผลัม จะต้องมีแสงแดด มีน้ำและมีปุ๋ย ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ เพราะจะทำให้อินทผลัมไม่เจริญเติบโต ดังนั้นต้นทุนในการดูแลรักษาจะค่อนข้างสูง แต่ผลผลิตที่ได้ กับราคาขายในขณะนี้ถือว่าดีมาก แต่ในอนาคตผลผลิตมากขึ้น ใน 5-6 ปีข้างหน้าตนก็คิดว่าราคาขายก็ยังคุ้มค่ากับการลงทุน




วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2563

สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดหนองคาย จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ โครงการขับเคลื่อนและติดตามผลแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการจังหวัดหนองคาย ฉบับที่ 3 พ.ศ.2560-2564 เพื่อขับเคลื่อนแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการให้เกิดประโยชน์สูงสุด


วันที่ 25 มิ.ย. 63 ที่ ห้องประชุมโรงแรมพาร์คแอนด์พลู อำเภอเมืองหนองคาย นางกัญญารัตน์ จิรจินดา พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดหนองคาย ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการขับเคลื่อนและติดตามผลแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการจังหวัดหนองคาย ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2560-2564  โดยมีนายสุชน ภัยธิราช รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย เป็นประธานเปิดการประชุม




 
นางกัญญารัตน์ จิรจินดา พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดหนองคาย กล่าวว่า แผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการจังหวัดหนองคาย ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2560-2564 เป็นแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในระดับจังหวัด ที่เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างมีประสิทธิภาพ เน้นกระบวนการจัดทำแผน โดยมีการพิจารณาถึงความเชื่อมโยงกับแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ฉบับที่ 5 พ.ศ. 2560-2564 แผนพัฒนาจังหวัด สถานการณ์และแนวโน้มปัญหาของการดำเนินงานคนพิการในพื้นที่ รวมถึงการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกของการดำเนินงานด้านคนพิการในบริบทของจังหวัด สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทั้งในทางนโยบาย เศรษฐกิจ การเมืองและสังคม ย่อมส่งผลกระทบต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในระดับจังหวัด รวมถึงกระทบต่อแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการที่ได้มีการจัดทำไว้แล้วนั้น เพื่อให้การพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในจังหวัดหนองคายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเท่าทันการเปลี่ยนแปลง จึงได้จัดการประชุมครั้งนี้ขึ้น

โดยมีผู้เข้าอบรมประกอบด้วย คณะอนุกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรคนพิการ เครือข่ายงานคนพิการและหน่วยงานภาครัฐ จำนวน 143 คน







จ.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา" เฉลิมพระเกียรติฯ

สนง.พช.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา...