วันพุธที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2562

หนองคาย - ไทย, ลาว, เวียดนาม, กัมพูชา ผนึกกำลังปังกันป้องโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ยันไม่ติดต่อตน


        วันที่ 27 มี.ค. 62 ที่หน้าโรงแรมอัศวรรณ อ.เมือง จ.หนองคาย นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นประธานปล่อยขบวนรถเจ้าหน้าที่หน่วยปฏิบัติการพิเศษของกรมปศุสัตว์ เพื่อออกปฏิบัติงานพ่นน้ำยาฆ่าเชื่อเพื่อป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (African Swine Fever : ASF) ตามพื้นที่ชายแดนและประเทศเพื่อนบ้าน โดยมี นายรณชัย จิตวิเศษ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย พร้อมคณะให้การต้อนรับ





       อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า ตั้งแต่วันที่ 3 สิงหาคม 2561 เป็นต้นมา ก็เกิดโรค ASF ในประเทศจีน มองโกเลีย และเวียดนาม ซึ่ง ณ ตอนนี้ประเทศไทย ลาว และกัมพูชา ยังไม่เกิดโรคระบาดดังกล่าวขึ้น และในวันนี้มีความสำคัญมาก เพราะว่าทางผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคายและก็ทางอธิบดีกรมปศุสัตว์จากประเทศลาว กัมพูชา และเวียดนาม ได้เดินทางมาประชุมเพื่อที่จะหาข้อในเรื่องของการดำเนินการ เพื่อที่จะป้องกันในภูมิภาคแห่งนี้ปลอดจากโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร เพราะฉะนั้นความเข้มแข็งในภูมิภาค อย่างวันนี้ทางกรมปศุสัตว์  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ปล่อยขบวนคาราวานเพื่อที่จะไปดำเนินการพ่นยาฆ่าเชื้อที่ สปป.ลาว เพราะว่าความเสี่ยงในแถบริมแม่น้ำโขง อาจจะมีความเสี่ยงกับสุกรที่เลี้ยงแบบปล่อย โดยการสนับสนุนจากสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ซึ่งมีความเข้มแข็งมาก ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าว่าโรคนี้จะไม่เข้ามาในประเทศไทย ลาว และกัมพูชา ซึ่งปัจจุบันได้มีการทำคู่มืประชาสัมพันธ์ผ่านทางปศุสัตว์จังหวัดและเจ้าหน้าที่ ซึ่งโรคนี้จะคล้ายโรคอหิวาต์ธรรมดา มีอาการป่วยการตายสูง แต่ให้ท่องไว้คือ 4+1 ซึ่ง 1 ก็คือไม่ติดคน เพราะฉะนั้นไม่ต้องตระหนักว่าโรคนี้จะติดคน ที่แพร่กระจายในโซเชียลนั้นไม่จริง อันที่ 2 คือไม่มียารักษาและก็ไม่มีวัคซีน เชื้อทนทานต่อสภาพแวดล้อม และอัตราการตายสูง ซึ่งอยู่ใน 4+1 ซึ่งเกษตรกรนั้นเข้าใจ และอีกเรื่องหนึ่งก็คือเจ้าของผู้เลี้ยงสุกรรายใหญ่เร่งดำเนินการในเรื่องความปลอดภัยทางชีวภาพ ส่วนรายย่อยเราได้ดำเนินการให้มีความเข้าใจว่าโรคนี้มีความสำคัญอย่างไร และเวลาเกิดโรคนั้นมีความเสียหายอย่างไร ซึ่งรัฐบาลได้ยกระดับของโรคนี้เป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งทุกหน่วยงานราชการต้องมาช่วยกันเหมือนกับโรคไข้หวัดนกในอดีต แต่เนื่องจากว่าโรคนี้ไม่ใช่โรคสัตว์ติดคน จึงมีลึกดำเนินการอีกแบบหนึ่ง ประชาชนไม่ต้องตื่นตระหนก เพราะติดเฉพาะสุกร ซึ่งประชาชนก็ทราบและเข้าใจดีอยู่แล้วว่าโรคนี้ไม่ติดคน







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

จ.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา" เฉลิมพระเกียรติฯ

สนง.พช.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา"...