วันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2562

ชลประทานหนองคายเตรียมรับมือพายุ "โพดุล" เร่งระบายน้ำออกจากอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาตรน้ำภายในอ่างเกินความจุใน 2 อำเภอลงน้ำโขง เพื่อพร่องน้ำไว้รองรับปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาใหม่ ป้องกันปัญหาอุทกภัย


จากการประกาศของกรมอุตุนิยมวิทยา ฉบับที่ 7 ลงวันที่ 29 สิงหาคม 2562 จะมีพายุระดับ 3 (โซนร้อน) “โพดุล” บริเวณทะเลจีนใต้ มีศูนย์กลางอยู่ห่างประมาณ 180 กิโลเมตร ทางด้านตะวันออกของเมืองดองฮอย ประเทศเวียดนาม หรือที่ละติจูด 17.4 องศาเหนือ ลองจิจูด 108.4 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลาง 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกด้วยความเร็วประมาณ 15 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่า จะเคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนในคืนวันที่ 29 สิงหาคม 2562 และจะอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันเคลื่อนตัวเข้าสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทยในวันที่ 30 สิงหาคม 2562





สำหรับจังหวัดหนองคาย มีฝนตกหนักและปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำและลำห้วยสาขามีปริมาตรน้ำเกินความจุ ในพื้นที่ อำเภอโพธิ์ตากและอำเภอท่าบ่อ นายรณชัย จิตรวิเศษ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย สั่งการให้โครงการชลประทานหนองคายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งระบายน้ำออกจากอ่างเก็บน้ำขนาดกลางที่มีปริมาตรน้ำภายในอ่างเกินความจุ ที่อำเภอโพธิ์ตาก ประกอบด้วย อ่างเก็บน้ำห้วยทอนตอนบน  ที่มีปริมาตรน้ำภายในอ่าง 8.514 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 169.15 , อ่างเก็บน้ำห้วยหินแก้ว ที่มีปริมาตรน้ำภายในอ่าง 208.09 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 4.053 และอ่างเก็บน้ำห้วยไฮ ที่มีปริมาตรน้ำภายในอ่าง 3.538 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 86.29   โดยโครงการชลประทานหนองคายมีความจำเป็นต้องเพิ่มปริมาณการระบายน้ำทั้ง 3 แห่ง อาจทำให้ประชาชนริมสองฝั่งได้รับผลกระทบจากการระบายน้ำและน้ำล้น จึงขอให้ประชาชนที่อาศัยท้ายอ่างเก็บน้ำ ที่ราบต่ำริมน้ำไหลผ่าน พื้นที่ติดแม่น้ำโขงและพื้นที่เสี่ยงภัยระมัดระวัง ขนย้ายสิ่งของที่จำเป็นไว้ที่สูงและติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด
       




  
ในส่วนของพื้นที่อำเภอท่าบ่อ ประกอบด้วย อ่างเก็บน้ำห้วยยังพวน ที่มีปริมาณน้ำในอ่าง 9.695 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 112.17 และลำห้วยโมง โดยโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยโมง ได้เปิดประตูระบายน้ำทั้ง 4 บาน เร่งระบายน้ำจากลำห้วยลงในแม่น้ำโขงต้้งแต่ึวันที่ 29 ส.ค. 62    ซึ่งวันนี้ (30 ส.ค. 62) มีน้ำอยู่ในระบบมากถึง 20.370 ล้าน ลบ.ม. สามารถระบายน้ำลงในแม่น้ำโขงได้วันละ 8.556 ล้าน ลบ.ม. ระดับน้ำในลำห้วยโมงสูงกว่าระดับน้ำในแม่น้ำโขง 2 เมตร ซึ่งการเร่งระบายน้ำในอ่างเก็บน้ำและในลำห้วยสาขาครั้งนี้ เพื่อเป็นการพร่องน้ำได้รองรับฝนที่จะตกลงมาใหม่จากอิทธิพลของพายุโซนร้อน “โพดุล” ในขณะที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมรับมือฝนตกหนักน้ำท่วมฉับพลันตลอด 24 ชั่วโมง
       







   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

จ.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา" เฉลิมพระเกียรติฯ

สนง.พช.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา"...