หนองคาย – กองทัพเรือ พัฒนาอากาศยานไร้นักบินได้สำเร็จ!.. สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ ( สวพ.ทร.)
นำอากาศยานไร้นักบิน (UAV) ผลงานความก้าวหน้างานวิจัยและผลงานวิจัยอื่นๆ
ที่ประสบความสำเร็จมาเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ และทำการสาธิตให้กับหน่วยงานต่าง ๆ ชม
ที่ จังหวัดหนองคาย
วันที่
10 ม.ค. 2561ที่บริเวณสนามหน้าศาลากลางจังหวัดหนองคาย นายรณชัย จิตรวิเศษ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย
และส่วนราชการ ให้การต้อนรับ พล.ร.ต.ก่อเกียรติ
ปั้นดี ผอ.สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ(สวพ.ทร.)
พร้อมคณะ นำอากาศยานไร้นักบิน (UAV)
ผลงานความก้าวหน้างานวิจัยและผลงานวิจัยอื่นๆ
ที่ประสบความสำเร็จมาเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และทำการสาธิตบินให้กับหน่วยงานต่าง ๆ ชม
โดยตัวอย่างผลงานวิจัยที่ได้นำมาสาธิตในครั้งนี้
ล้วนเป็นผลงานที่ดำเนินการวิจัยเสร็จสิ้น แล้วผ่านขั้นตอนการทดสอบทดลอง
พร้อมเข้าสู่กระบวนการผลิตใช้งานจริง บางผลงานได้รับการรับรองมาตรฐานยุทโธปกรณ์ของกองทัพเรือ
บางผลงานได้รับรางวัลผลงานวิจัยและพัฒนาในระดับประเทศ
และบางผลงานได้เข้าสู่กระบวนการผลิตเพื่อใช้งานจริงมาหลายครั้ง โดยมีส่วนราชการร่วมรับชม
ซึ่งผลงานวิจัยที่ได้นำมาสาธิตในครั้งนี้ประกอบไปด้วย
1. อากาศยานไร้นักบินแบบปีกนิ่งขึ้นลงทางดิ่งแบบ FUVEC
มีรัศมีการทำการในระหว่าง 100-150 กม.
ทำการบินได้นานไม่ต่ำกว่า 4 ชั่วโมง
มีความเร็วเดินทางระหว่าง 80-120 กม./ชม.
สามารถติดตั้งกล้องตรวจการณ์แบบติดตามเป้าหมายอัตโนมัติทั้งแบบกลางวันกำลังขยาย 36
เท่าและกล้องจับความร้อน ใช้เครื่องยนต์ไฟฟ้าในการขึ้นและลง
เครื่องยนต์ใช้น้ำมันในการเดินทาง ความกว้างระหว่างปลายปีก 4.5 เมตร น้ำหนักขณะทำการบิน 30-35 กก.
2. อากาศยานไร้นักบินแบบปีกนิ่งขึ้นลงทางดิ่งแบบ
TAREM มีรัศมีการทำการในระหว่าง 10-15 กม.
ทำการบินได้นาน 45-60 นาที มีความเร็วเดินทางระหว่าง 50-60
กม./ชม. สามารถติดตั้งกล้องตรวจการณ์แบบ Action Camera หรือ แบบกำลังขยาย 36 เท่า หรือแบบตรวจจับความร้อน
ใช้เครื่องยนต์ไฟฟ้าสองชุดในการขึ้นและลง และใช้อีกชุดหนึ่งในการเดินทาง
ความกว้างระหว่างปลายปีก 2 เมตร น้ำหนักขณะทำการบิน 4
กก. สามารถปรับเปลี่ยนการบินด้วยความเร็วแบบปีกนิ่งสลับกันการลอยตัวหยุดนิ่งกลางอากาศได้ตลอดเวลา
3. อากาศยานไร้นักบินแบบปีกหมุน
นารายณ์ มีรัศมีการทำการในระหว่าง 1-3 กม. ทำการบินได้นาน 25-30 นาที มีความเร็วเดินทางระหว่าง 20-30 กม./ชม.
สามารถติดตั้งกล้องตรวจการณ์แบบ Action Camera หรือ
แบบกำลังขยาย 36 เท่า หรือแบบตรวจจับความร้อน
ขนาดอากาศยานวัดตามเส้นทะแยงมุมขนาด 60 ซม.
4. ระบบควบคุมบังคับบัญชาแบบพกพา CCMLS ซึ่งเป็นระบบรับและกระจายข้อมูลของอุปกรณ์ตรวจจับ
ไม่ว่าจะเป็นอากาศยานไร้นักบิน เรดาร์ GPS CCTV และระบบอื่นๆที่หลากหลาย
สามารถทำงานร่วมกันได้เป็นระบบขนาดใหญ่
สามารถติดต่อสื่อสารกันได้แม้แต่ในพื้นที่ที่เครือข่ายการสื่อสารใดๆไม่สามารถเข้าถึงได้
โดยใช้วิทยุสื่อสารข้อมูลขนาดเล็กที่ติดตั้งอยู่ภายใน สามารถควบคุม แสดงผล
และสั่งการระบบอากาศยานไร้นักบินที่พัฒนา
เป็นอีกผลงานหนึ่งที่คนไทยภาคภูมิใจในฝีมือคนไทย
ด้วยสำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ
(สวพ.ทร.)ได้มีการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง.
น.ต.วรกฤต
ถาวรเลิศทวี /
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น