วันอังคารที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2563

สมาชิกฌาปนกิจสงเคราะห์ชมรมผู้สูงอายุ อ.โพธิ์ตาก จ.หนองคาย ร้องสื่อมวลชน แฉพฤติกรรมประธานชมรมฯและกรรมการ โกงเงินสมาชิกรวมกว่า 2,500 ราย เป็นเงินกว่า 40 ล้านบาท อ้างบริหารจัดการผิดพลาดจนขาดทุน


วันที่ 27 เม.ย. 63  ทายาทและสมาชิกฌาปนกิจสงเคราะห์ชมรมผู้สูงอายุบ้านดอนไผ่ ต.โพนทอง อ.โพธิ์ตาก จ.หนองคาย ได้นำหลักฐานร้องเรียนสื่อมวลชน ให้ช่วยเปิดโปงพฤติกรรมของประธานชมรมฯ และกรรมการชมรมฯ โดยระบุว่า มีการบริหารชมรมฯ ไม่โปร่งใส เนื่องจากไม่จ่ายเงินค่าตอบแทนแก่สมาชิกที่ส่งครบตามกรมธรรม์ในสัญญา 8 ปี ที่ยังไม่เสียชีวิต รวมจำนวน 393 ราย รายละ 17,280 บาท รวมเป็นเงิน 6,791,040 บาท ทั้งยังมีการยกเลิกหรือยุบชมรมฯ โดยไม่รับผิดชอบเยียวยาผู้ที่เป็นสมาชิกอีกกว่า 1,469 ราย คิดเป็นมูลค่าความเสียหายทั้งสิ้นกว่า 21 ล้านบาท



นางปิ่น ชัยสารี อายุ 54 ปี กล่าวว่า ณาปนกิจสงเคราะห์ชมรมผู้สูงอายุบ้านดอนไผ่ ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2552 กระทั่งเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2553 ตนได้ตกลงทำณาปนกิจสงเคราะห์กับทางชมฯ ให้นางหล่ม มารดาของตน เป็นค่าสมัคร 1,000 บาท และค่ารายเดือน 200 บาท รวมต้องจ่ายในวันสมัคร 1,200 บาท และมีกำหนดชำระค่าณาปนกิจสงเคราะห์ทุกเดือนๆละ 200 บาท ตกปีละ 2,400 บาท โดยมีกฏระเบียบข้อบังคับ คือ สมาชิกส่งเงินสมทบ ในระหว่างนั้นเกิดเสียชีวิตในช่วงส่งครบ 6 เดือน 1 วัน ทางชมรมจะจ่ายค่าทำศพ 17,000 บาท เสียชีวิต 2 ปี 1 วัน จะจ่ายค่าทำศพ 30,000 บาท และเสียชีวิต 4 ปี 1 วัน จะจ่ายค่าทำศพ 50,000 บาท แต่ท่าส่งครบ 8 ปี โดยยังไม่เสียชีวิตจะให้หยุดจ่ายเงินรายเดือน รอรับเงินสงเคราะห์ได้เมื่อเสียชีวิต และจะมีเงินตอบแทนให้กับสมาชิกที่ส่งครบ 8 ปี เป็นเงิน 17,280 บาท ตั้งแต่ปี 2552 จนถึงปัจจุบันที่สมาชิกส่งเงินสมทบมาก็เลยกำหนดครบ 8 ปีแล้วหลายราย กลับไม่ได้เงินตอบแทนแม้แต่บาทเดียวที่สมาชิกสมควรที่จะได้รับ และตลอดระยะเวลาที่ทางชมรมฯ ก่อตั้งขึ้นมา ไม่เคยมีการนัดประชุมสมาชิกสักครั้ง มีแต่คณะกรรมการตั้งโต๊ะประชุมกันเอง รายรับรายจ่ายเป็นอย่างไรไม่เคยแจ้งให้สมาชิกทราบ รับรู้ภายในคณะกรรมการเท่านั้น

จนกระทั่งเมื่อเดือนมีนาคม 2563 ตนและสมาชิกทราบว่าทางชมรมฯได้ล้มละลายแล้ว โดยไม่มีการแจ้งให้กับสมาชิกทราบ จึงได้ไปสอบถามคณะกรรมการเองถึงรู้ว่าได้ปิดชมรมฯ โดยให้เหตุผลว่า ขาดทุน หลังจากนั้นสมาชิกทั้งหมดจึงได้ดำเนินการขอเงินที่ส่งคืนมา แต่ทางกรรมการฝ่ายตรวจสอบ-ควบคุมชมรมผู้สูงอายุ บอกกลับมาว่าไม่มีเงินคืนให้ เชื่อว่าถูกหลอกแน่นอน



นางปิ่นกล่าวอีกว่า ที่เข้ามาแจ้งความร้องทุกข์กับสื่อฯ ช่วยเปิดโปงพฤติกรรมของประธานชมรมฯ และกรรมการ เชื่อว่ามีการบริหารเงินไม่โปร่งใส เพราะไม่จ่ายค่าเงินตอบแทนกับสมาชิกที่ส่งครบ 8 ปี หนำซ้ำยังมีการเปลี่ยนกฏเกณฑ์ไปเลื่อยๆ เช่น ส่งครบ 10 ปีถึงจะได้เงินตอบแทน พอมีสมาชิกส่งครบกลับเปลี่ยนกฏเกณฑ์อีก เลื่อนไปเป็น 11 ปี สมาชิกบางคนมีคณะกรรมการบริหารกรมธรรม์ 10 คนบ้าง 11 คนบ้าง กรมธรรม์ก็เปลี่ยนแปลงตลอด ที่สำคัญเปลี่ยนคณะกรรมการบริหารไม่เคยแจ้งสมาชิก คิดจะเปลี่ยนก็เปลี่ยน ทั้งยังมีการยุบชมรมฯโดยไม่รับผิดชอบสมาชิกที่เหลือ ทั้งที่ผ่านมาสมาชิกก็จ่ายเงินให้กับชมรมฯตามที่เรียกเก็บมาตลอดทุกเดือน ที่ผ่านมาสมาชิกเคยร้องไปที่ศูนย์ดำรงธรรม และมีการเรียกนัดพูดคุยกัน แต่ก็ไม่ได้ข้อสรุป จึงได้พากันไปแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ แต่กลับไม่รับแจ้ง พากันไปแจ้งความถึงสามครั้งก็ยังเหมือนเดิม จึงพากันไปร้องทุกข์กับท่านผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย  ท่านผู้ว่าฯจึงเขียนหนังสือให้พวกตน ไปร้องทุกข์กับอัยการจังหวัด ถึงได้มีหนังสือแจ้งให้รับแจ้งความดำเนินคดี

ทั้งนี้ จากการตรวจสอบบัญชีรายรับรายจ่ายของลูกค้าแต่ละสายของกรรมการชมรมฯ นับตั้งก่อตั้งชมรมเมื่อปี 2552 พบคณะกรรมการ 8 ใน 9 คนมีหมุนเวียนไม่ต่ำกว่า 1 ล้าน 2 แสนบาท/ปี มากสุดเป็นประธานชมรมฯ ถึง  3 ล้านบาท/ปี และยังพบว่าทางชมรมฯไม่ได้ยื่นขอจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจ หรือนิติบุคคลแต่อย่างใด และมีคนหลงเชื่อร่วมเป็นสมาชิกทั้งในพื้นที่ ต่างอำเภอ และต่างจังหวัด มากกว่า 2,500 ราย มูลค่าความเสียหายเป็นเงินจำนวนกว่า 40 ล้านบาท





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

จ.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา" เฉลิมพระเกียรติฯ

สนง.พช.หนองคาย ขับเคลื่อนการตำเนินงานโครงการขยายผลการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุต์สู่ "โคก หนอง นา"...